วันพฤหัสบดีที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ความกลมกลืน และ ความขัดแย้ง

ความกลมกลืน (Harmony)
       โดยทั่วไป หมายถึงการประสานเข้าสนิทกัน กลมกลืน ปรองดอง สามัคคี ลงรอย ในทางทัศนศิลป์ ความกลมกลืน หมายถึง การรวมกันของ หน่วยย่อยต่าง ๆ ซึ่งได้แก่ส่วนประกอบมูลฐาน ของศิลปะ คือได้แก่ จุด เส้น รูปร่าง รูปทรง สี พื้นผิว น้ำหนัก อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง และการจัดวางองค์ประกอบ เช่นจ้ังหวะ ช่องว่าง ทำให้เกิดเป็นการประสานเข้า กันได้อย่างสนิท โดยไม่มีความขัดแย้ง ทำให้ผลงานการออกแบบ ทัศนศิลป์ มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน หรือความมีเอกภาพ แต่อย่างไรก็ตาม ความกลมกลืนถ้ามีมากเกินไป ก็อาจจะ ทำให้ผลงานนั้นอาจดูน่าเบื่อได้ จึงต้องมีการ เพิ่มการขัดแย้ง หรือ ความแตกต่าง (Contrast) เข้าไปร่วมบ้างเพียงเล็กน้อย ก็จะให้ผลที่น่าสนใจขึ้น








ความแตกต่าง (Contrast)
       ศิลปินจะต้องนำเอาความขัดแย้งขององค์ประกอบมาจัดให้เกิดความกลมกลืน  งานศิลปะจึงมีคุณค่าความงาม  โดยใช้อัตราส่วน  80: 20  ให้กลมกลืน 80 ส่วน ขัดแย้ง 20 ส่วน  ซึ่งการให้มีความขัดแย้งอยู่บ้างจะทำให้ผลงานน่าสนใจมากขึ้น ถ้าไม่มีความขัดแย้งเลยจะทำให้จืดชืด  เรียบ  ไม่ดึงดูดความสนใจ








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น