วันพุธที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2557

ข้อสอบ องค์ประกอบศิลป์

1. ข้อใดไม่ใช่การจัดองค์ประกอบของศิลปะที่ควรคำนึง
     ก. สัดส่วน
     ข. การเน้น
     ค. สี
     ง. จังหวะลีลา

2. ข้อใดไม่ใช่ส่วนประกอบขององค์ประกอบศิลป์ที่สำคัญ
     ก. สี
     ข. จุด
     ค. เส้น
     ง. รูปร่างและรูปทรง

3. วิจิตรศิลป์ เรียกอีกอย่างว่าอะไร
     ก. ประติมากรรม
     ข. ศิลปะกรรม
     ค. ประยุกต์ศิลป์
     ง. ประณีตศิลป์

4. มัณฑนศิลป์ คืออะไร
     ก. ประติมากรรมนูนต่ำ
     ข. ออกแบบตกแต่งภายใน
     ค. งานศิลปะที่สร้างขึ้นโดยผ่านกระบวนการพิมพ์จากแม่พิมพ์หลายชนิด
     ง. ผลงานศิลปะที่มีคุณค่าสูง

5. ผู้สร้างสรรค์งานจิตรกรรม เรียกว่าอะไร
     ก. จิตรกร
     ข. ประติมากรรม
     ค. สถาปัตยกรรม
     ง. ประณีตศิลป์

วันพฤหัสบดีที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2557

สัดส่วนมาตรฐานและสัดส่วนความรู้สึก

ความหมายของขนาดและสัดส่วนในทางทัศนศิลป์



 ขนาด (Size หรือ Scale) สัดส่วน (Proportion)
     เป็นคำที่มีความหมายทั้งคล้ายกันและแตกต่างกันเล็กน้อย แต่มีความความสัมพันธ์กันตลอดเวลา คือเป็นความสัมพันธ์ (Relative) ของส่วนย่อย (Detail) กับส่วนรวม (Mass) กล่าวคือ

     ขนาด เป็นส่วนย่อย (Detail) หมายถึง ขนาดความใหญ่ ความเล็ก ความกว้าง ความยาว หรือความลึก ของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งวัดได้ตามมาตราที่มนุษย์ได้กำหนดหน่วยวัดขึ้นมา เพื่อเป็นมาตรฐานใช้เรียกกัน
     สัดส่วน เป็นส่วนรวม (Mass) หมายถึงความสัมพันธ์ระหว่าง สิ่งสองสิ่ง ที่มีขนาดต่างกัน เช่นการที่ี่จะระบุว่าขนาดนั้นมีความใหญ่ เล็ก หรือมีความเหมาะเจาะพอดีแค่ใหนนั้น ต้องนำไปเปรียบกับขนาดโดยส่วนรวม (Mass) ที่เรียกว่าสัดส่วน (Proportion)


     สัดส่วนที่เป็นมาตรฐาน จากรูปลักษณะตามธรรมชาติของ คน สัตว์  พืช ซึ่งโดยทั่วไปถือว่าสัดส่วนตามธรรมชาติ จะมีความงามที่เหมาะสมที่สุด หรือจากรูปลักษณะที่เป็นการสร้างสรรค์ของมนุษย์ เช่น Gold section เป็นกฎในการสร้างสรรค์รูปทรงของกรีก ซึ่งถือว่า "ส่วนเล็กสัมพันธ์กับส่วนที่ใหญ่กว่า  ส่วนที่ใหญ่กว่าสัมพันธ์กับส่วนรวม"  ทำให้สิ่งต่าง ๆ ที่สร้างขึ้นมีสัดส่วนที่สัมพันธ์กับทุกสิ่งอย่างลงตัว

     สัดส่วนจากความรู้สึก โดยที่ศิลปะนั้นไม่ได้สร้างขึ้นเพื่อความงามของรูปทรงเพียงอย่างเดียว แต่ยังสร้างขึ้นเพื่อแสดงออกถึงเนื้อหา เรื่องราว ความรู้สึกด้วย  สัดส่วนจะช่วยเน้นอารมณ์ ความรู้สึก ให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ และเรื่องราวที่ศิลปินต้องการ ลักษณะเช่นนี้ ทำให้งานศิลปะของชนชาติต่าง ๆ มีลักษณะแตกต่างกัน เนื่องจากมีเรื่องราว อารมณ์และความรู้สึกที่ต้องการแสดงออกต่าง ๆ กันไป เช่น กรีก นิยมในความงามตามธรรมชาติเป็นอุดมคติเน้นความงามที่เกิดจากการประสานกลมกลืนของรูปทรง จึงแสดงถึงความเหมือนจริงตามธรรมชาติ ส่วนศิลปะแอฟริกันดั้งเดิมเน้นที่ความรู้สึกทางวิญญานที่น่ากลัว ดังนั้น รูปลักษณะจึงมีสัดส่วนที่ผิดแผกแตกต่างไปจากธรรมชาติทั่วไป

วันพฤหัสบดีที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ความกลมกลืน และ ความขัดแย้ง

ความกลมกลืน (Harmony)
       โดยทั่วไป หมายถึงการประสานเข้าสนิทกัน กลมกลืน ปรองดอง สามัคคี ลงรอย ในทางทัศนศิลป์ ความกลมกลืน หมายถึง การรวมกันของ หน่วยย่อยต่าง ๆ ซึ่งได้แก่ส่วนประกอบมูลฐาน ของศิลปะ คือได้แก่ จุด เส้น รูปร่าง รูปทรง สี พื้นผิว น้ำหนัก อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง และการจัดวางองค์ประกอบ เช่นจ้ังหวะ ช่องว่าง ทำให้เกิดเป็นการประสานเข้า กันได้อย่างสนิท โดยไม่มีความขัดแย้ง ทำให้ผลงานการออกแบบ ทัศนศิลป์ มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน หรือความมีเอกภาพ แต่อย่างไรก็ตาม ความกลมกลืนถ้ามีมากเกินไป ก็อาจจะ ทำให้ผลงานนั้นอาจดูน่าเบื่อได้ จึงต้องมีการ เพิ่มการขัดแย้ง หรือ ความแตกต่าง (Contrast) เข้าไปร่วมบ้างเพียงเล็กน้อย ก็จะให้ผลที่น่าสนใจขึ้น








ความแตกต่าง (Contrast)
       ศิลปินจะต้องนำเอาความขัดแย้งขององค์ประกอบมาจัดให้เกิดความกลมกลืน  งานศิลปะจึงมีคุณค่าความงาม  โดยใช้อัตราส่วน  80: 20  ให้กลมกลืน 80 ส่วน ขัดแย้ง 20 ส่วน  ซึ่งการให้มีความขัดแย้งอยู่บ้างจะทำให้ผลงานน่าสนใจมากขึ้น ถ้าไม่มีความขัดแย้งเลยจะทำให้จืดชืด  เรียบ  ไม่ดึงดูดความสนใจ








วันพฤหัสบดีที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

จุดเด่นและจังหวะ

ความหมายของจุดเด่นในทางทัศนศิลป์

จุดเด่น (Dominance) หรือ จุดสนใจ (Point of Interest)
     เป็นสิ่งที่พบเห็น ได้จากชีวิตประจำวันทั่ว ๆ ไป เช่น การพูด เมื่อถึงตอนสำคัญที่ต้องการเน้น ก็พูดเน้นให้ดังขึ้น หรือลดระดับเสียงลง หรือหยุดเว้นระยะ เพื่อให้เป็นที่น่าสนใจ การเขียนก็เช่นกัน เมื่อถึงข้อความสำคัญที่ต้องการเน้น ก็ทำ ตัวอักษรให้หนาหรือใหญ่ หรือขีดเส้นใต้ ให้แตกต่างกว่าข้อความอื่น ๆ ตัวอย่างเหล่านี้ เป็นการสร้างจุดเด่นโดยทั่วไป


ภาพที่เป็นจุดเด่นหลัก


ภาพที่เป็นจุดเด่นรอง

ความหมายของจังหวะในทางทัศนศิลป์

     จังหวะ หรือลีลา เป็นส่วนประกอบของการแสดงออกทางศิลปะ ทุกสาขา ที่ปรากฎชัดเจน เช่นในสาขาคีตกรรมและนาฏกรรม ที่มี การเรียบเรียงเสียงประสาน เป็นเสียงสูง เสียงต่ำสอดประสานกัน ความกลมกลืนจังหวะของการเต้นรำ การเคาะให้ เกิดจังหวะ แม้แต่ในสาขาวรรณกรรม ในโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน จะมีระเบียบบังคับ ของจังหวะแม้แต่การอ่านออกเสียง ก็ต้องให้ เลื่อนไหลเป็นจังหวะอย่างถูกต้อง อาจจะกล่าว ได้ว่า จังหวะ หมายถึงความเคลื่อน ไหวอย่างต่อเนื่องเหมือนจังหวะ ของคลื่นในทะเล ที่มีการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง หรือ จังหวะการเคลื่อนไหวที่หยุดเป็น ช่วง ๆ เน้นเป็นระยะ เช่น การเคาะจังหวะ การเน้นความหนักเบา ในคีตศิลป์และวรรณศิลป์


ภาพที่เป็นจังหวะ

วันพฤหัสบดีที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

เอกภาพ


สมดุลแบบเท่ากัน


สมดุลแบบไม่เท่ากัน